น้องหมา-การกู้ชีพน้องหมา การทำCPR ไม่ให้หัวใจน้องหมาหยุดเต้น

Photobucket - Video and Image Hosting  Photobucket - Video and Image Hosting


การทำ CPR  ไม่ให้หัวใจน้องหมาหยุดเต้น


แม้เราจะป้องกันดูแลน้องหมาดีแค่ไหน แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจหมายถึงชีวิตของน้องหมาที่เรารักเลยก็ได้ การเรียนรู้วิธีการกู้ชีพน้องหมาเบื้องต้นในระหว่างที่พามาน้องหมามาส่งถึงมือสัตวแพทย์ก็จะช่วยพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับน้องหมาของเราได้ค่ะ

การกู้ชีพน้องหมาในที่นี้ก็คือ การทำ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) ซึ่งเป็นการกู้ชีพเพื่อไม่ให้หัวใจหรือการหายใจของน้องหมาหยุดไปจนจัดว่าเสียชีวิต และยังรวมไปถึงการรักษาสภาพการทำงานของสมองไว้ด้วย การทำ CPR เบื้องต้นนี้ไม่ได้ใช้เพื่อทำให้น้องหมาที่จัดว่าเสียชีวิตไปแล้วคืนชีพมาได้ แต่เป็นการทำให้หัวใจและอวัยวะสำคัญสามารถทำงานต่อไปได้ จนกว่าหัวใจและปอดกลับมาทำงานได้ด้วยตนเองอีกครั้ง ในคนนั้นพบว่าการทำ CPR สามารถทำให้คนรอดชีวิตมาได้ราวๆ 15% แต่ในน้องหมานั้นมักไม่ค่อยได้ผลดีเท่าไหร่ เพราะบางครั้งใช้เวลาเดินทางมาโรงพยาบาลสัตว์นาน และระหว่างเดินทางไม่ได้ทำการกู้ชีพเบื้องต้นไว้ก่อนเพราะว่าทำไม่เป็น เมื่อมาถึงมือสัตวแพทย์ก็มักจะสายเกินไปแล้วนั่นเอง
ขั้นตอนในการกู้ชีพน้องหมาเบื้องต้นที่เจ้าของทำได้จะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนที่เรียกว่า ABCs ซึ่งได้แก่ A (Airway) เป็นขั้นตอนที่เตรียมทางเดินหายใจให้เปิดโล่ง เพื่อเป็นทางผ่านของอากาศ B (Breathing) ก็คือการทำให้หายใจ และ C (Circulation) คือการทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเป็นไปได้ด้วยดี การเริ่มทำ CPR นั้นจะเริ่มทำในกรณีที่น้องหมาเริ่มไม่หายใจเองหรือเริ่มคลำไม่พบชีพจรแล้วเท่านั้น ห้ามทำในน้องหมาที่ยังหายใจได้ปกติหรือยังมีชีพจรชัดเจนเด็ดขาดนะคะ 

Airway

เมื่อพบว่าน้องหมาหยุดหายใจ สิ่งที่เจ้าของควรตรวจดูอันดับแรก คือ มีอะไรอุดตันทางเดินหายใจหรือไม่ ใช้ความระมัดระวังในการล้วงมือเข้าไปในคอน้องหมาที่ไม่ได้สติ เพราะในบางครั้งอาจมีรีเฟล็กกระตุ้นให้น้องหมางับมือเราได้ ถ้าพบว่ามีอะไรอุดตันทางเดินหายใจ ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • จัดท่าให้น้องหมานอนตะแคง
  • จัดท่าให้บริเวณคอและหัวยืดออก แต่ไม่ใช่ยืดออกจนคอบิดไปด้านบนมากไปนะคะ
  • ดึงลิ้นออกมาไว้ด้านนอกปาก
  • เปิดปากดูและมองหาสิ่งที่ทำให้เกิดการอุดตัน ถ้าพอคีบหรือดึงออกมาได้ก็เอาออกมาเลย แต่ระวังอย่าไปหนีบหรือไปดึงกระดูกโครงสร้างบริเวณกล่องเสียงนะคะ
  • ถ้าไม่สามารถดึงออกมาได้ อาจใช้จับให้ส่วนหัวและคอของน้องหมาก้มต่ำลง แล้วกอดด้านหลังของตัวน้องหมาใช้มือ 2 ข้างประสานกันหลังซี่โครงซี่สุดท้าย และออกแรงกดจนสิ่งแปลกปลอมกระเด็นออกมานอกหลอดลม และให้รีบเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไป อาจดูคลิปวิดีโอสาธิตการทำแบบนี้ได้ที่http://www.ehow.com/video_4977783_perform-heimlich-maneuver-cat-small.html



Breathing


ถ้าสุนัขของคุณยังหายใจได้เอง ก็จัดท่าทางให้น้องหมาหายใจได้สะดวกที่สุด แต่ถ้าน้องหมาหยุดหายใจ ให้เจ้าของเช็คดูว่าไม่มีอะไรอุดตันทางเดินหายใจ และเริ่มทำการช่วยหายใจ โดยการทำ mouth to nose (เป่าลมจากปากเข้าทางจมูก) โดยเอามือของเรากุมไว้รอบๆปากน้องหมาทั้งสองข้าง และเป่าลมเข้าทางจมูกน้องหมา และปล่อยให้หายใจออก ถ้าน้องหมายังไม่สามารถหายใจเอง ให้ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆ ให้เป่าลมเข้าปากน้องหมาแบบนี้ในอัตรา 20-30 ครั้งต่อนาที อาจให้อีกคนเช็คว่าหัวใจยังเต้นอยู่หรือไม่ ถ้าหัวใจไม่เต้นก็ต้องทำการปั๊มหัวใจด้วย



Circulation
การทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงาน ก็คือการที่หัวใจทำงานเพื่อปั๊มเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ถ้าหัวใจน้องหมาหยุดเต้นก็ต้องทำการปั๊มหัวใจน้องหมาให้กลับมาทำงาน เริ่มจากจัดวางน้องหมาลงบนพื้นที่แข็งเพื่อทำการปั๊มหัวใจ อย่าวางบนพื้นที่อ่อนนุ่ม เพราะอาจทำให้การออกแรงกดเพื่อกระตุ้นหัวใจทำได้ไม่ดีค่ะ
กรณีน้องหมาหนักน้อยกว่า 30 ปอนด์ หรือ 13.6 กิโลกรัมลงมา
  • สอดอุ้งมือหรือปลายนิ้วไปตรงช่วงอก บริเวณที่ข้อศอกของน้องหมาแตะกับช่วงอกในท่านอนตะแคง โดยให้ตัวของเจ้าของอยู่ด้านเดียวกับหน้าอกของน้องหมา
  • ออกแรงกดให้รู้สึกว่ากดลึกลงไปประมาณ 1 นิ้ว โดยใช้ความเร็วในการกด 2 ครั้งต่อ 1 วินาที
  • กดช่องอก 5 ครั้งสลับกับการช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทำไปจนครบ 1 นาที ถ้าหัวใจน้องหมายังไม่เต้น ให้กลับไปทำต่อ
  • กรณีน้องหมาหนัก 30-100 ปอนด์ หรือ 13.6-45 กิโลกรัม
    • หลังจากวางน้องหมาไว้บนพื้นแข็ง ให้ตัวเจ้าของอยู่ฝั่งที่ตรงกับด้านแผ่นหลังของน้องหมา
    • ใช้มือสองข้างวางทับกันบนอกน้องหมาที่บริเวณที่ข้อศอกของน้องหมาในท่านอนตะแคงแตะกับช่องอก โดยยืดข้อศอกให้ตรง อย่างอข้อศอกเวลาออกแรงกด
    • ออกแรงกดให้ลึกลงไปประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้ความเร็วในการกด 1.5-2 ครั้งต่อวินาที
    • กดช่องอก 5 ครั้งสลับกับช่วยหายใจ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาทีแล้วเช็คว่าหัวใจเต้นหรือไม่ ถ้าไม่ให้กลับไปทำต่อ
    กรณีน้องหมาหนักมากกว่า 100 ปอนด์ หรือ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
    • วิธีการวางมือและออกแรงกดเหมือนกับที่ทำในน้องหมาหนัก 30-100 ปอนด์
    • ใช้ความเร็วในการกด 1 ครั้งต่อ 1 วินาที
    • กดช่องอก 10 ครั้งสลับกับช่วยหายใจ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาทีแล้วเช็คว่าหัวใจเต้นหรือไม่ ถ้ายังไม่เต้นก็กลับมากู้ชีพต่อ
    ให้เจ้าของทำ CPR นี้ไปจนกระทั่งส่งถึงมือสัตวแพทย์ โดยมากถ้าทำการกู้ชีพนี้ไปประมาณ 20 นาทีแล้วน้องหมายังไม่มีชีพจรและหายใจได้เอง ก็มักจะพบว่าน้องหมามักไม่รอดค่ะ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Labels

"โรคกระเพาะบิด" โรคร้ายของน้องหมา 10 สุนัขพันธุ์เล็ก ยอดฮิต ยอดนิยม 10 อันดับ สายพันธุ์สุนัขที่เหมาะกับครอบครัว 10 อันดับ สุนัขทำเงิน 10 อันดับ สุนัขสุดฮิตล่าสุด ติดอันดับยอดนิยมของโลก 10 อันดับสุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก ข้อดีข้อเสียของสุนัขเพศผู้ เพศเมีย ชิวาวา - 7 เรื่องลับ ๆ ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ชิวาวา - ลักษณะสายพันธุ์ชิวาวา ชิสุ (Shih Tzu) - กระจกตาเป็นแผลหลุม (Cornealulcer) ตู้ยาน้องหมา น้องหมา - กำจัดเห็บหมัดน้องหมา น้องหมา - ท้องเสีย..ภัยร้ายของน้องหมาที่กับหน้าร้อน น้องหมา - น้องหมาสายตาสั้น น้องหมา - เรื่องจริงจากทางบ้านยารักษาขี้เรื้อน น้องหมา - โรคร้าย 5 อันดับโรคร้าย ที่ทำให้น้องหมาตายฉับพลัน น้องหมา - วิธีดูแลขนน้องหมาในหน้าร้อน น้องหมา - แสดงอาการคัน น้องหมา-10 อันดับสุดยอดสุนัขเฝ้ายาม น้องหมา-5 อย่างอาหารต้องห้ามเจ้าตูบ น้องหมา-การกู้ชีพน้องหมา การทำ CPR ไม่ให้หัวใจน้องหมาหยุดเต้น น้องหมา-ความอดทนของสุนัขอารักขา น้องหมา-คุมกำเนิดน้องหมา น้องหมา-ฉี่เป็นเลือด น้องหมา-น้องหมาไอ น้องหมา-ปวดฟัน น้องหมา-ปากเหม็น น้องหมามีกลิ่นปาก น้องหมา-โปรแกรมฉีดวัคซีนป้องกันให้โรคน้องหมา น้องหมา-เมื่อน้องหมาเป็นไข้น้ำนม น้องหมา-ไม่กินอาหาร น้องหมาเบื่ออาหาร น้องหมา-รวมรายชื่อที่รับเผาน้องหมา น้องหมา-รับฝากน้องหมา น้องหมา-โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข น้องหมา-โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข น้องหมา-โรคมะเร็งน้องหมา น้องหมา-โรคลมแดด โรคฮิตสุนัขในช่วงหน้าร้อน น้องหมา-โรคหวัดโรคติดต่อ โรคฮิตของน้องหมา น้องหมา-ลำไส้อักเสบติดต่อได้ ปอมเมอเรเนียน-ลักษณะสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ปั๊กตาอักเสบ (Dogazine) เฝ้าบ้าน ภาษากายน้องหมา แมว 10 อันดับแมวที่สวยที่สุด รายชื่อโรงพยาบาลสัตว์และคลินิกสัตว์ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-การเลือกสุนัข สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-บางแก้วดุ กัดเจ้าของ จริงหรือ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu) - วิธีเลือกซื้อ สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-เจ้าหมาสิงห์โตน้อย สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-อาบน้ำดูแลขนชิสุ