น้องหมา-ลำไส้อักเสบติดต่อได้









โรคลำไส้อักเสบติดต่อได้

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Canine Parvovirus type 2 (CPV-2) โดยผ่านทางอุจจาระและอาเจียน เข้าสู่ปากโดยการกินเชื้อไวรัสเข้าไป หรืออาจติดได้จากสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจก็ได้ มีรายงานว่าตัวอ่อนในท้องสามารถติดเชื้อได้จากแม่ผ่านทางรกได้ด้วย เชื้อนี้มีความทนทานมาก สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากกว่า 5 เดือนเลยทีเดียว น้องหมาตัวใหม่อาจติดเชื้อนี้ได้ จากน้องหมาตัวเก่าที่ตายด้วยโรคนี้ ผ่านทางเชื้อที่ยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อม ภาชนะ ของเล่น กรง ที่นอน และอุปกรณ์ต่างๆ

ความเสี่ยง
       อันที่จริงโรคนี้พบได้ในน้องหมาทุกเพศ ทุกพันธุ์ และทุกวัย แต่จากการศึกษาพบว่า น้องหมาที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากที่สุด คือ 
        ลูกหมาอายุ 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน
        - ลูกหมาที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ไม่เพียงพอ หรือยังไม่ได้ทำวัคซีน
        - น้องหมาที่ถูกเลี้ยงรวมกันจำนวนมาก มีพยาธิในลำไส้ มีความเครียด จนภูมิคุ้มกันลดลง

      - น้องหมาบางพันธุ์จะมีความไวเป็นพิเศษ เช่น เยอรมันเชฟเฟิร์ด ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ อเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย ร็อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมน
 ส่วนน้องหมาพันธุ์พูเดิ้ลและค็อกเกอร์สเปเนียล จะมีความไวน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคนี้
       สำหรับน้องหมาที่โตแล้ว อาจจะติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เพราะมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนหรือจากธรรมชาติแล้ว แต่อาจกลายเป็นตัวแพร่เชื้อไปสู่ลูกหมาได้ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานว่าเชื้อ CPV-2 ติดคนหรือไม่ 
จะสังเกตอาการอย่างไร ?
     น้องหมาจะแสดงอาการป่วยภายใน 3-10 วันหลังจากได้รับเชื้อ ส่วนใหญ่อาการจะเริ่มจากซึม เบื่ออาหาร อาจมีไข้ ตามมาด้วยอาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำสีดำ (melena) ไปจนถ่ายเป็นเลือด มีกลิ่นคาว (กลิ่นของเลือดที่หมักหมมในอุจาระ) ร่างกายจะสูญเสียน้ำ อิเล็กโทรไลด์ และพลาสม่าโปรตีนไปมาก อาจทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผนังลำไส้ที่ถูกทำลาย จะทำให้น้องหมาเจ็บปวดท้อง ร้องคราง ตัวงอและสั่น เจ็บเมื่อแตะและสัมผัสตัว ลูกหมาที่อายุน้อยกว่า 3 เดือนอาจมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย

ทราบได้อย่างไรว่าเป็น ?
     การวินิจฉัยนอกจากคุณหมอจะดูจากประวัติ การตรวจร่างกาย และตรวจเลือดแล้ว สิ่งที่ใช้ยืนยันได้ดี คือ การตรวจแอนติเจนจากอุจจาระด้วยวิธี ELISA โดยใช้ Test kit CPV วิธีนี้มีข้อดี คือ ความไวในการตรวจค่อนข้างสูง ใช้เวลาทราบผลไม่เกิน 15 นาที แต่มีความจำเพาะต่ำ เพราะไม่สามารถแยกเชื้อทีเกิดจากการทำวัคซีนและที่ได้รับจากธรรมชาติได้ เพราะฉะนั้น เจ้าของควรแจ้งคุณหมอเรื่องวันที่ได้ทำวัคซีนด้วย หากน้องหมาแสดงอาการป่วยหลังจากฉีดวัคซีนไปไม่เกิน 12 วัน
      ในทางตรงกันข้าม บางทีน้องหมาอาจจะป่วยจริงๆ แต่อาจตรวจไม่พบ เนื่องจากคุณหมอเก็บตัวอย่างอุจจาระที่มีเชื้อมาน้อยเกินไป หรือตรวจในช่วงที่มีเชื้อในอุจจาระน้อย จึงตรวจไม่พบเชื้อ (ช่วงที่มีเชื้อในอุจจาระมากที่สุดคือช่วง 4-7 วันหลังจากติดเชื้อ)
เป็นแล้วต้องทำอย่างไร ?
       แน่นอนต้องรักษา เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาอัตราการตายจะสูงถึง 91 % เลยทีเดียว การรักษาจะเป็นไปในลักษณะการประคับประคอง (Supportive treatment) เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสโดยตรง หลักการ คือ ต้องได้รับสารน้ำเพื่อชดเชยน้ำและอิเล็กโทรไลด์ที่เสียไปจากการอาเจียนและท้องเสีย น้ำตาลเด็กโตรสเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำตาล (Hypoglycemia) ซึ่งพบได้ง่ายในลูกสุนัข ยาฆ่าเชื้อ ยาระงับอาเจียน และยาลดกรด-เคลือบกระเพาะ  
       นอกจากนี้ยังมีการรักษาทางเลือกอีกมากมาย ที่เป็นไปในลักษณะของการกระตุ้นหรือเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับการักษาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
        - การป้อน Beta-Glucan ขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม วันละ 1 ครั้ง
        - การฉีด Granulocyte colony-stimulating factor เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
        - การฉีด Interferon omega ซึ่งจะได้ผลดีหากฉีดในช่วงแรกๆ และให้ไม่เกิน 3 วัน
        - การฉีด Inactivated cell ของแบคทีเรีย Propionibacterium acnes โดยฉีดเข็มแรก แล้วตามด้วยเข็มที่ 2 ในอีก 48 ชั่วโมงถัดมา จากนั้นอาจให้ฉีดซ้ำเมื่อครบ 1 สัปดาห์
       ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่การหวังผลทางอ้อมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันใช้ต่อต้านเชื้อเท่านั้น ในบ้านเรามีการรักษาด้วย HyperImmune Serum (HIS) ด้วยครับ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในเลือดให้สูงสุด เพื่อใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานแก่ลูกสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มักใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ซึ่งผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ แต่เป็นกรณีศึกษาเฉพาะบุคคลยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
       มีการทดลองนำยา Oseltamivir (Tamiflu™) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 มาใช้ โดยใช้ป้อนวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน เพื่อลดความสามารถในการผ่านของเชื้อไวรัสเข้าสู่ crypt cells ของลำไส้เล็ก และลดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ไม่ให้สร้าง endotoxin มากขึ้น แต่ยานี้ก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และมีผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้และอาเจียน 


รอดหรือไม่ ?
     ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ปริมาณเชื้อที่รับเข้าไป สภาพร่างกายของน้องหมาแต่ละตัว ระดับภูมิคุ้มกันของร่ายกายที่มีอยู่ ลูกหมาที่ป่วยโอกาสรอดชีวิตจะน้อยกว่าน้องหมาโต คุณหมอจะติดตามดูอาการเป็นรายวันต่อวัน น้องหมาอาจต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 3-7 วันหรือมากกว่านั้น  พยากรณ์โรคลำไส้อักเสบติดต่อ (Canine Parvovirus) ในลูกสุนัขจะอยู่ในระดับแย่ถึงแย่ที่สุด (Poor to Grave) หากลูกหมาตัวไหนป่วย เจ้าของอาจต้องเผื่อใจไว้บ้าง อย่างไรก็ดีการดูแลอย่างใกล้ชิดจะทำให้อัตราการตายลดลงเหลือเพียง 4-48 %

ทำอย่างไรไม่ให้เป็น ?
       มีหลักปฏิบัติ 9 ประการ เพื่อกำจัดโรคลำไส้อักเสบติดต่อให้อยู่หมัด ดังนี้ครับ
       1. น้องหมาควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์สมวัย และได้รับการถ่ายพยาธิ 
       2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงที่จะทำให้น้องหมาเครียด เช่น การเลี้ยงรวมกันจำนวนมาก การให้อาหารไม่เพียงพอ หรือเลี้ยงในที่ที่มีเสียงดัง เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงได้
       3. หลีกเลี่ยงการเล่นกับน้องหมาแปลกหน้าที่ไม่ทราบประวัติการทำวัคซีน 
       4. หากมีสมาชิกเข้ามาใหม่ ควรแยกเลี้ยงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนนำมาเลี้ยงรวมกับน้องหมาตัวอื่นๆ  
       5. หากมีน้องหมาที่ป่วยต้องแยกเลี้ยงโดยทันที เพื่อง่ายต่อการดูแลและป้องกันการแพร่เชื้อ
       6. ต้องทำความสะอาดบริเวณพื้น กรง และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสารฟอกขาว (Sodium hypochlorite) โดยผสมอัตราส่วน สารฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 30 ส่วน (หรือสารฟอกขาว 4 ออนซ์ต่อน้ำ 1 แกลลอน) พ่นทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงล้างออก 
       7. ควรล้างมือ และทำความสะอาดเสื้อผ้า รองเท้าด้วย หากไปสัมผัสน้องหมาที่ป่วยมา
      8. หากน้องหมาหายป่วยแล้ว ก็ควรต้องแยกเลี้ยงต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และก่อนนำมาเลี้ยงรวมกันควรต้องอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายป้องกันเชื้อที่ยังอยู่ตามขนและผิวหนัง
      9. ควรฉีดวัคซีนให้ลูกสุนัข เริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วให้กระตุ้นซ้ำอีก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-4 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จากนั้นให้กระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกๆ ปี


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Labels

"โรคกระเพาะบิด" โรคร้ายของน้องหมา 10 สุนัขพันธุ์เล็ก ยอดฮิต ยอดนิยม 10 อันดับ สายพันธุ์สุนัขที่เหมาะกับครอบครัว 10 อันดับ สุนัขทำเงิน 10 อันดับ สุนัขสุดฮิตล่าสุด ติดอันดับยอดนิยมของโลก 10 อันดับสุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก ข้อดีข้อเสียของสุนัขเพศผู้ เพศเมีย ชิวาวา - 7 เรื่องลับ ๆ ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ชิวาวา - ลักษณะสายพันธุ์ชิวาวา ชิสุ (Shih Tzu) - กระจกตาเป็นแผลหลุม (Cornealulcer) ตู้ยาน้องหมา น้องหมา - กำจัดเห็บหมัดน้องหมา น้องหมา - ท้องเสีย..ภัยร้ายของน้องหมาที่กับหน้าร้อน น้องหมา - น้องหมาสายตาสั้น น้องหมา - เรื่องจริงจากทางบ้านยารักษาขี้เรื้อน น้องหมา - โรคร้าย 5 อันดับโรคร้าย ที่ทำให้น้องหมาตายฉับพลัน น้องหมา - วิธีดูแลขนน้องหมาในหน้าร้อน น้องหมา - แสดงอาการคัน น้องหมา-10 อันดับสุดยอดสุนัขเฝ้ายาม น้องหมา-5 อย่างอาหารต้องห้ามเจ้าตูบ น้องหมา-การกู้ชีพน้องหมา การทำ CPR ไม่ให้หัวใจน้องหมาหยุดเต้น น้องหมา-ความอดทนของสุนัขอารักขา น้องหมา-คุมกำเนิดน้องหมา น้องหมา-ฉี่เป็นเลือด น้องหมา-น้องหมาไอ น้องหมา-ปวดฟัน น้องหมา-ปากเหม็น น้องหมามีกลิ่นปาก น้องหมา-โปรแกรมฉีดวัคซีนป้องกันให้โรคน้องหมา น้องหมา-เมื่อน้องหมาเป็นไข้น้ำนม น้องหมา-ไม่กินอาหาร น้องหมาเบื่ออาหาร น้องหมา-รวมรายชื่อที่รับเผาน้องหมา น้องหมา-รับฝากน้องหมา น้องหมา-โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข น้องหมา-โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข น้องหมา-โรคมะเร็งน้องหมา น้องหมา-โรคลมแดด โรคฮิตสุนัขในช่วงหน้าร้อน น้องหมา-โรคหวัดโรคติดต่อ โรคฮิตของน้องหมา น้องหมา-ลำไส้อักเสบติดต่อได้ ปอมเมอเรเนียน-ลักษณะสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ปั๊กตาอักเสบ (Dogazine) เฝ้าบ้าน ภาษากายน้องหมา แมว 10 อันดับแมวที่สวยที่สุด รายชื่อโรงพยาบาลสัตว์และคลินิกสัตว์ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-การเลือกสุนัข สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-บางแก้วดุ กัดเจ้าของ จริงหรือ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu) - วิธีเลือกซื้อ สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-เจ้าหมาสิงห์โตน้อย สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-อาบน้ำดูแลขนชิสุ