น้องหมา - แสดงอาการคัน




สรุปสาเหตุของอาการคันในสุนัขแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุ 

1 ความไม่สมดุลทางโภชนาการ

นื่องจากอาหารมีส่วนสำคัญที่ทำให้ขนและผิวหนังแข็งแรง นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ถ้าสุนัขได้สารอาหารที่ไม่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ติดเชื้อได้ง่ายก่อให้เกิดปัญหากับผิวหนังและเกิดการคัน ดังนั้นควรให้สุนัขกินอาหารที่มีคุณภาพและครบสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ อาจให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน หรือปรุงอาหารเองโดยเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ นอกจากนี้สามารถเสริมกลุ่มวิตามิน หรือ โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 จะช่วยให้ผิวหนังแข็งแรงและเงางามมากขึ้น

2. ปรสิตภายนอก

ปรสิตที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้แก่ เห็บ หมัด เหา สุนัขจะคันบริเวณที่โดนกัด มีตุ่มสะเก็ดขึ้นตามตัว 

นอกจากนี้หมัดยังก่อให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังจากน้ำลายหมัด ส่วนปรสิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ 

ตัวไร ที่พบได้บ่อยคือ

ไรขี้เรื้อนเปียก(demodex) สุนัขมีอาการคันเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนัง ขี้เรื้อน

เปียกไม่ใช่โรคติดต่อกันในสุนัข  สาเหตุหลักเกิดจาก ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ป่วยด้วยโรคอื่นเรื้อรัง หรือโรค

ฮอร์โมน

ไรขี้เรื้อนแห้ง (sarcoptes) สุนัขจะมีอาการคันมาก เป็นโรคติดต่อระหว่างสุนัขที่อยู่รวมกัน และทำให้

คนที่สัมผัสเกิดอาการแพ้ได้ การรักษาจะง่ายและใช้ระยะเวลาสั้นกว่าขี้เรื้อนเปียก

ไรในหู (otodectes) สุนัขจะมีอาการคันหู และพบขี้หูเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้ม

การวินิจฉัยควรให้สัตวแพทย์ขูดตรวจผิวหนัง ดูปรสิตผ่านกล้องจุลทรรศน์

3. การติดเชื้อที่ผิวหนัง

ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย ยีสต์ ในการติดเชื้อรามักพบในกลุ่ม dermatophytes ซึ่งสุนัขจะไม่ค่อยคัน 

แต่เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์ด้วยกันและสัตว์เลี้ยงสู่คนได้

เชื้อยีสต์ พบได้ในผิวหนังปกติและไม่ก่อให้เกิดอาการทางผิวหนัง แต่ถ้ามีสาเหตุอื่นๆมากระตุ้น เช่น 

ภูมิแพ้ ฮอร์โมน ยีสต์จะเพิ่มจำนวนและก่อให้เกิดโรคผิวหนังได้ ลักษณะส่วนใหญ่ คือ ผิวหนังมันเยิ้ม มี

กลิ่นและคัน ผิวหนังดำและหนาตัว          ในสุนัขปกติเชื้อแบคทีเรียจะไม่ก่อให้ปัญหาโรคผิวหนังเช่น

เดียวกับยีสต์ เพราะร่างกายสุนัขมีกลไกป้องกันผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้ามีปัจจัยอะไรก็ตามที่มา

ทำลายผิวหนัง ได้แก่ ภูมิแพ้ การอักเสบ แผลหรือรอยถลอก ซึ่งส่งผลต่อกลไกการป้องกันของผิวหนัง 

แบคทีเรียเหล่านี้จะเพิ่มจำนวนและสามารถเข้าสู่ผิวหนังเกิดการติดเชื้อตามมา สุนัขจะเกิดอาการคัน

4. ภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้เป็นโรคเฉพาะตัวของสุนัข สารก่อภูมิแพ้จะทำให้เกิดโรคผิวหนังกับสุนัขที่แพ้เท่านั้น สุนัขอีกตัวที่

ไม่เป็นภูมิแพ้จะไม่แสดงอาการแม้ว่าจะเลี้ยงด้วยอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน ภูมิแพ้ในสุนัขแบ่ง

เป็น 4 สาเหตุหลัก ได้แก่

ภูมิแพ้อาหาร สุนัขมักมีประวัติเคยได้รับอาหารชนิดนั้นมาก่อน สารที่ก่ออาการแพ้มักเป็นโปรตีนหรือ

วัตถุกันเสียที่อยู่ในอาหาร เช่น อาหารเม็ดสำเร็จรูป เนื้อวัว นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไก่ ไข่ ถั่วเหลือง

และข้าวโพด ซึ่งการวินิจฉัยภูมิแพ้อาหารนั้นควรได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยจะมีขั้นตอนและการ

ทดสอบให้ปฏิบัติ

ภูมิแพ้หมัด  เกิดจากหมัดกัดและมีการปล่อยน้ำลายจากตัวหมัดเข้าสูผิวหนังสุนัข ซึ่งน้ำลายหมัด

ประกอบด้วยสารคล้ายฮิสตามีน(สารกระตุ้นการอักเสบ)ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง สุนัขจะมี

อาการคัน อักเสบและก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้ร

ภูมิแพ้สิ่งสัมผัส เกิดจากสุนัขมีการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่กระตุ้นการแพ้เช่น ที่นอน สารเคมีในน้ำยาถู

พื้น สนามหญ้า โดยจะพบบริเวณที่มีขนปกคลุมน้อย ได้แก่ ซอกขาหนีบ ด้านล่างลำตัว ใต้ท้อง ฝ่าเท้า

ภูมิแพ้ละอองในอากาศ  สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง โดยสูดเอาละอองสารก่อภูมิแพ้ เช่น 

ละอองเกสร ละอองจากพืช ไรฝุ่น ซากมดซากแมลง เชื้อรา เป็นระยะเวลาหนึ่งจนเกิดการกระตุ้นภูมคุ้ม

กันในร่างกาย มักพบในสุนัขอายุ1-3ปี นอกจากนี้กรรมพันธุ์ก็มีส่วนในการเกิดภูมิแพ้ละอองอากาศ การ

วินิจฉัยโรคนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อไม่ให้สับสนกับสาเหตุอื่นและสามารถทราบสาเหตุการแพ้โดย

การทำ intradermal skin test

5. พฤติกรรม

พบในสุนัขที่ไม่ชอบอยู่นิ่งและเบื่อง่าย เจ้าของจะเห็นสุนัขเลียเท้าหรือปลายขาบ่อยๆ สาเหตุเกิดจาก

ความเครียด รู้สึกไม่ได้รับความสนใจ รู้สึกเบื่อ โดนกักขัง ปัญหานี้สามารถจัดการได้โดย พาสุนัขออก

กำลังกาย หากิจกรรมทำร่วมกันระหว่างสุนัขกับเจ้าของ เปลี่ยนอาหารให้เกิดความน่าสนใจ หาของ

เคี้ยวเล่นหรือหาสุนัขตัวอื่นมาเป็นเพื่อน

การรักษาโรคผิวหนังให้ได้ผลดีควรมีการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยสัตวแพทย์ เพราะโรคผิวหนัง 
ที่มีอาการเหมือนกันอาจเกิดจากสาเหตุแตกต่างกัน หรือเกิดหลายสาเหตุร่วมกันได้ 
เจ้าของสุนัขก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยในการช่วยวินิจฉัย โดยสัตวแพทย์จะทำการซักประวัติ 
เจ้าของที่พาสุนัขมา เช่น ระยะเวลาที่เกิดอาการ ประวัติการใช้ยา อาหารและที่อยู่อาศัย 
อาการผิวหนัง บริเวณที่เริ่มเป็น ดังนั้นถ้าเจ้าของทราบประวัติของสุนัขเป็นอย่างดีก็จะ 
ทำให้สัตวแพทย์วินิฉัยได้ง่ายขึ้น
 ขอขอบคุณข้อมูล : http://kah.kasetanimalhospital.com





  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Labels

"โรคกระเพาะบิด" โรคร้ายของน้องหมา 10 สุนัขพันธุ์เล็ก ยอดฮิต ยอดนิยม 10 อันดับ สายพันธุ์สุนัขที่เหมาะกับครอบครัว 10 อันดับ สุนัขทำเงิน 10 อันดับ สุนัขสุดฮิตล่าสุด ติดอันดับยอดนิยมของโลก 10 อันดับสุนัขที่ฉลาดที่สุดในโลก ข้อดีข้อเสียของสุนัขเพศผู้ เพศเมีย ชิวาวา - 7 เรื่องลับ ๆ ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ชิวาวา - ลักษณะสายพันธุ์ชิวาวา ชิสุ (Shih Tzu) - กระจกตาเป็นแผลหลุม (Cornealulcer) ตู้ยาน้องหมา น้องหมา - กำจัดเห็บหมัดน้องหมา น้องหมา - ท้องเสีย..ภัยร้ายของน้องหมาที่กับหน้าร้อน น้องหมา - น้องหมาสายตาสั้น น้องหมา - เรื่องจริงจากทางบ้านยารักษาขี้เรื้อน น้องหมา - โรคร้าย 5 อันดับโรคร้าย ที่ทำให้น้องหมาตายฉับพลัน น้องหมา - วิธีดูแลขนน้องหมาในหน้าร้อน น้องหมา - แสดงอาการคัน น้องหมา-10 อันดับสุดยอดสุนัขเฝ้ายาม น้องหมา-5 อย่างอาหารต้องห้ามเจ้าตูบ น้องหมา-การกู้ชีพน้องหมา การทำ CPR ไม่ให้หัวใจน้องหมาหยุดเต้น น้องหมา-ความอดทนของสุนัขอารักขา น้องหมา-คุมกำเนิดน้องหมา น้องหมา-ฉี่เป็นเลือด น้องหมา-น้องหมาไอ น้องหมา-ปวดฟัน น้องหมา-ปากเหม็น น้องหมามีกลิ่นปาก น้องหมา-โปรแกรมฉีดวัคซีนป้องกันให้โรคน้องหมา น้องหมา-เมื่อน้องหมาเป็นไข้น้ำนม น้องหมา-ไม่กินอาหาร น้องหมาเบื่ออาหาร น้องหมา-รวมรายชื่อที่รับเผาน้องหมา น้องหมา-รับฝากน้องหมา น้องหมา-โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข น้องหมา-โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข น้องหมา-โรคมะเร็งน้องหมา น้องหมา-โรคลมแดด โรคฮิตสุนัขในช่วงหน้าร้อน น้องหมา-โรคหวัดโรคติดต่อ โรคฮิตของน้องหมา น้องหมา-ลำไส้อักเสบติดต่อได้ ปอมเมอเรเนียน-ลักษณะสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ปั๊กตาอักเสบ (Dogazine) เฝ้าบ้าน ภาษากายน้องหมา แมว 10 อันดับแมวที่สวยที่สุด รายชื่อโรงพยาบาลสัตว์และคลินิกสัตว์ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-การเลือกสุนัข สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-บางแก้วดุ กัดเจ้าของ จริงหรือ สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว-ประวัติสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu) - วิธีเลือกซื้อ สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-เจ้าหมาสิงห์โตน้อย สุนัขพันธุ์ชิสุ(Shih Tzu)-อาบน้ำดูแลขนชิสุ